คู่มือวิธีการปฏิบัติงานก่อสร้างทางลอด (WORK INSTRUCTION FOR UNDERPASS CONSTRUCTION) โดยสำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวง
ทางลอดผ่านใต้ทางแยกเป็นแนวคิดหนึ่งในการเพิ่มพื้นผิวจราจรบริเวณจุดตัดทางแยกสัญญาณไฟจราจร ช่วยให้การบริหารจัดการจราจรด้วยสัญญาณไฟจราจรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีหน้าที่เทียบเคียงกับสะพานลอยข้ามทางแยก แต่ทางลอดมีจุดเด่นด้านลดการบดบังทัศนียภาพ กรมทางหลวงได้ดําเนินการโครงการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมืองด้วยการออกแบบก่อสร้างทางลอดในหลายพื้นที่ด้วยกัน ซึ่งมีรูปแบบและขั้นตอนการก่อสร้างแตกต่างกันไป
คู่มือวิธีการปฏิบัติงาน ก่อสร้างทางลอดที่ได้จัดทําขึ้นโดยสํานักก่อสร้างสะพานนี้ จึงเป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งที่จะเก็บและรวบรวมข้อมูลที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) อันได้แก่เทคนิคความรู้ ประสบการณ์ในการแก้ไข
ปัญหาอุปสรรคในการทํางาน ถ่ายทอดต่อบุคลากรทั้งของกรมทางหลวง หน่วยงานราชการและภาคเอกชน เป็นส่วนหนึ่งเพื่อช่วยพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนี้ให้เจริญก้าวหน้าและทันสมัย กรมทางหลวงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือวิธีการปฏิบัติงานก่อสร้างทางลอดนี้ จะช่วยในการพัฒนาองค์ความรู้ เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ และผู้มีส่วนในการผลักดันการพัฒนาทางด้านเทคนิควิธีการในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศชาติต่อไป
คู่มือวิธีการปฏิบัติงาน ก่อสร้างทางลอดที่ได้จัดทําขึ้นโดยสํานักก่อสร้างสะพานนี้ จึงเป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งที่จะเก็บและรวบรวมข้อมูลที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) อันได้แก่เทคนิคความรู้ ประสบการณ์ในการแก้ไข
ปัญหาอุปสรรคในการทํางาน ถ่ายทอดต่อบุคลากรทั้งของกรมทางหลวง หน่วยงานราชการและภาคเอกชน เป็นส่วนหนึ่งเพื่อช่วยพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนี้ให้เจริญก้าวหน้าและทันสมัย กรมทางหลวงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือวิธีการปฏิบัติงานก่อสร้างทางลอดนี้ จะช่วยในการพัฒนาองค์ความรู้ เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ และผู้มีส่วนในการผลักดันการพัฒนาทางด้านเทคนิควิธีการในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศชาติต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น